พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
.....................................................................................
ที่ตั้ง 810 ถนนกำแพงเพชร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900
เวลาเปิด/ปิด เปิดอังคาร-ศุกร์ 9.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์และวัดหยุดพิเศษ 10.00-18.00น.
ค่าเข้าชม เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 70 บาท
เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร 02-615-7333
การเดินทาง สถานีรถใต้ดินสถานีกำแพงเพชรแล้วเดินต่อไปประมาณ 1กิโลเมตร / สถานีรถไฟฟ้า สถานีหมอชิต จากนั้นเดินเข้าสวนสาธารณะสวนจตุจักรก็จะพบ
รถประจำทาง : 4 26 27 28 29 34 38 39 54 59 63 74 77 97 108
รถปรับอากาศ : 13 502 503 509 510 513 ปอ.พ. 2 8 5 12
ประวัติ/การก่อตั้ง
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครประกอบด้วยอาคารจัดแสดงนิทรรศการ 3 หลัง พร้อมห้องประชุม และพื้นที่บริการส่วนต่างๆ ในอาคาร รวมพื้น ที่กว่า 7,000 ตารางเมตร กับพื้นที่ลานกว้าง นอกอาคาร ซึ่งจัดเป็นส่วน กิจกรรม การเรียนรู้ และสันทนาการ มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร
กรุงเทพมหานคร ได้มอบพิพิธภัณฑ์เด็กฯ ให้อยู่ในความ ดูแลรับ ผิดชอบ ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงทพมหานคร เพื่อจัดให้มีการบริการ การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ อย่างเต็มที่
การจัดแสดง/สภาพพื้นที่ขนาด
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครประกอบด้วยอาคารจัดแสดงนิทรรศการ 3 หลัง พร้อมห้องประชุม และพื้นที่บริการส่วนต่างๆ ในอาคาร รวมพื้น ที่กว่า 7,000 ตารางเมตร กับพื้นที่ลานกว้าง นอกอาคาร ซึ่งจัดเป็นส่วน กิจกรรม การเรียนรู้ และสันทนาการ มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร
จุดเด่นของสถานที่ มีพื้นที่ให้เด็กได้วิ่งเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่
กิจกรรม/อุปกรณ์ที่ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว
ทางพิพิธภัณฑ์จะมีแจ้งข่าวกิจกรรมต่างๆของพิพิธภัณฑ์ผ่านทางเว็ปไซด์และจดหมายข่าว นอกจากนั้นในวันหยุดพิเศษเช่นวันเด็กก็จะจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้เด็กๆได้เล่นกันอย่างเต็มที่
ข้อแนะนำ
ควรใส่ชุดทะมัดทะแมง พอที่จะตามเด็กๆไปในทุกฐานของเครื่องเล่นในพิพิธภัณฑ์เด็ก
........................................................................................................................
พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน
..............................................................................
ที่ตั้งชั้น 7 อาคาร 72 ปี ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ 470 ถ.พญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เปิด/ปิด จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.วันหยุดทำการ: เสาร์-อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ วันหยุดครึ่งปีธนาคาร (1 ก.ค.) หากจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำจดหมายของเข้าชมพิพิธภัณฑ์จะเปิดให้ชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้นโดยทำจดหมายขออนุญาตเข้าชมได้ที่ ผู้อำนวยการสำนักการเรียนรู้ ธนาคารออมสิน ชั้น 3
โทรศัพท์ 0-2299-8561 0-2299-8000
การเดินทาง นั่งรถไฟฟ้า มาลงที่สถานีสะพานควาย แล้วเดินต่อเพียงเล็กน้อยหรือ
รถประจำทาง : 4 26 27 28 29 34 38 39 54 59 63 74 77 97 108
รถปรับอากาศ : 13 502 503 509 510 513 ปอ.พ. 2 8 5 12
ประวัติ/การก่อตั้ง
ธนาคารออมสินแต่เดิมเรียกว่า “คลังออมสิน” ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2456 จากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ให้กิจการออมสินเป็นธนาคารของรัฐสำหรับประชาชนและค้ำจุนนานะทางการคลังของรัฐบาล จากการเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษของรัชกาลที่ 6ทรงทอดพระเนตรเห็นการดำเนินงานคลังออมสินของอังกฤษ ซึ่งทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนรายย่อยมาให้รัฐบาลใช้เป็นเงินทุนประกอบกิจกรรมต่างๆเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงมีพระราชประสงค์ดำเนินกิจการออมสินขึ้นในประเทศไทย คลังออมสินก่อตั้งขึ้นในปี 2456 ดำเนินการภายใต้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผ่านการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับ ประวัติศาสตร์ไทยจนมาเป็น “ธนาคารออมสิน” ธนาคารของประชาชนไทยในปัจจุบัน ในส่วนของภาพที่จัดแสดงบนผนังเราจะเห็นพัฒนาการของธนาคารออมสินตั้งแต่เรื่องของตึกทำการ โดยคลังออมสินแห่งแรกอยู่ที่พระคลังมหาสมบัติ และมีภาพของประธานกรรมการธนาคารออมสินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ยุคแรกของกิจการออมสินเรื่องสำคัญที่ต้องทำคือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เราจะเห็นสื่อโฆษณาเป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ใช้สำหรับติดตั้งในรถโฆษณาของธนาคารออมสิน โปสเตอร์ภาพวาดแบบการ์ตูนย้อนยุคในอากัปกิริยาร่าเริง สุขกาย สบายใจ มั่งคั่ง เมื่อได้ฝากเงินหรือซื้อสลากออมสิน ด้วยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้สะดุดตาและตื่นตาตื่นใจ เนื่องมาจากไม่สามารถพบเห็นสื่อลักษณะเช่นนี้ในปัจจุบัน
อย่างที่เราทราบกันกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญกลุ่มหนึ่งของธนาคารออมสินคือกลุ่มเด็ก ในอดีตเด็กๆ มักจะตื่นเต้นเสมอเมื่อคิดว่าจะได้ของแจกที่ธนาคารออมสิน โดยธนาคารได้จัดทำโปสเตอร์โฆษณาจูงใจเด็กโดยเฉพาะ “รูปภาพชุดใหม่ สำหรับแจกคุณหนู ที่ฝากออมสิน ในวันเสาร์และวันพฤหัสบดี จะแจกเมื่อใดนั้น ขอให้คุณหนูติดตามข่าว” รูปภาพที่แจกอย่างเช่น รูปหัวโขน รูปชนเผ่า ภาพดอกไม้ ภาพปะการัง ภาพบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย รูปภาพจะมีทั้งภาพวาดและภาพถ่าย
ถ้านับจากวันที่เตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสินเมื่อ พ.ศ.2533 ในสมัยที่ ม.ร.ว. จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กระทั่งเปิดบริการเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 โดยนายวิบูลย์ อังสนันท์ เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน จะเห็นได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีอายุเพียงสิบกว่าปีเท่านั้น ทางพิพิธภัณฑ์มีแผนงานที่จะจัดแสดงสิ่งของในพื้นที่กว้างกว่านี้ซึ่งอยู่ในช่วงของการพูดคุยกัน เมื่อก่อนนี้พิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงกินพื้นที่ทั้งชั้นของ ชั้น 7 ตึก 72 ปี ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ปัจจุบันด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ใช้สอย ทำให้ส่วนของพิพิธภัณฑ์เหลือเพียงห้องขนาดเล็ก แต่ก็มีความคืบหน้าของการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ที่กำลังจัดทำเป็น E- Museum ที่แสดงเรื่องราว ในส่วนของสิ่งของจะมีการแสดงแต่ละชิ้นพร้อมคำอธิบายประวัติความเป็นมา สำหรับผู้ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเป็นเรื่องพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเรื่องราวอื่นๆ เกี่ยวกับธนาคารออมสิน สามารถค้นคว้าได้จากหนังสือในศูนย์การเรียนรู้ชั้น 3 ภายในตึกเดียวกัน
การจัดแสดง
ในบรรดาของแจกทั้งหลายที่เห็นสะดุดตาที่สุดและมีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อยู่เป็นจำนวนมากก็คือกระปุกออมสิน โดยจะมีตั้งแต่รุ่นแรกๆ ที่ทำเหมือนตู้ไปรษณีย์ทรงกระบอก ตัวกระปุกทำมาจากสังกะสี เหตุที่ทำเหมือนกับตู้ไปรษณีย์เมื่อย้อนดูประวัติจะทราบว่าการดำเนินกิจการคลังออมสินในช่วงปีพ.ศ. 2472-2489 อยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม ดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงเวลานั้นก็คือยุคแรกของกระปุกออมสิน ยุคต่อมาเราจะได้เห็นกระปุกออมสินมีรูปทรงหลากหลายเพราะทำมาจากพลาสติก ชวนให้คิดว่าไม่ว่าอะไรก็ล้วนแต่นำมาทำเป็นกระปุกออมสินได้ อย่างกระปุกออมสินสมุด กระปุกตุ๊กตาไทยผมจุก กระปุกตุ๊กตาญี่ปุ่นสวมชุดกิโมโน กระปุกรูปสัตว์ กระปุกลูกโลก กระปุกลูกบอล กระปุกรูปตู้เอทีเอ็ม ในการเพ่งมองพิจารณารูปร่างของกระปุกออมสินแต่ละชิ้นก็พาให้เพลิดเพลินจนลืมเวลา
สิ่งของอีกกลุ่มหนึ่งที่ดูแปลกตาและมีการจัดแสดงอยู่ฝั่งตรงข้ามของกระปุกออมสิน อุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องจักรลงบัญชี เครื่องออกสลากออมสิน เครื่องเย็บถุงเงินสำหรับใส่เหรียญ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องนับธนบัตร เครื่องคำนวณเลข เครื่องคิดเลข ที่ชั่งน้ำหนักสำหรับผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ คนยุคใหม่ที่คุ้นเคยอยู่เฉพาะกับคอมพิวเตอร์ รับรองได้ว่าเมื่อได้มาเห็นอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรู้สึกงุนงงสงสัยว่านี่มันอะไร ทำไมดูแปลกประหลาดอย่างนี้ แล้วใช้งานกันอย่างไร โดยเฉพาะเครื่องออกสลากออมสินที่มีกระเปาะกลมขนาดใหญ่ ดูไปคล้ายของเล่นหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในยานอวกาศ
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ของพิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสินอยู่ที่สิ่งที่จัดแสดงเป็นงานศิลปะ คำเฉลยนี้ได้มาจากผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์คนใหม่คือคุณปรีดาพร ไพศาลนันทน์ แม้ว่าเพิ่งจะรับงานนี้เพียงแค่หนึ่งเดือน แต่ทุกสิ่งที่อยู่ข้างในนี้คุณปรีดาพรกลับซึมซับได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีคุณอารมณ์ รังครัศมี และคุณศิลป์ฟ้า บุญคุณศักดิ์ ได้ช่วยพาชมและอธิบายเรื่องราวรวมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
ด้วยความชอบงานศิลปะ คุณปรีดาพรได้พาไปรู้จักกับผลงานของจิตรกรคนสำคัญ งานชิ้นนี้คืองานต้นแบบของแท้อันเป็นรูปปฏิทินสงกรานต์ เจ้าของผลงานคืออาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ศิลปินแห่งชาติ หลายคนอาจจะสงสัยว่าปฏิทินสงกรานต์คืออะไร ปฏิทินสงกรานต์คือภาพจิตรกรรมร่วมสมัย โดยใช้ศิลปะแบบเหมือนจริง บอกเกี่ยวกับวันทางจันทรคติ ภาพวาดมักจะเกี่ยวกับตัวนางสงกรานต์ เทวดา นางฟ้า ที่เป็นบริวารห้อมล้อมนางสงกรานต์ ปฏิทินสงกรานต์เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ธนาคารออมสินจัดให้มีขึ้นเพื่อแจกลูกค้าในวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันปีใหม่ไทย เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ ศิลปินผู้บุกเบิกก็คืออาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ปฏิทินสงกรานต์ในปัจจุบันคือของสะสมมีค่า คนที่ได้รับมักจะเอาไปใส่กรอบเก็บไว้อย่างดี และเคยมีนักสะสมจัดนิทรรศการปฏิทินสงกรานต์มาแล้วด้วย สำหรับคนที่สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซด์
ในจำนวนสิ่งของที่จัดแสดงนอกจากนี้ยังมีข้าวของเครื่องใช้อย่างเช่น กำปั่นเงิน กำปั่นทอง พัดลม นาฬิกา แบบสมัยโบราณ แล้วก็ยังมีพวกธนบัตรและเหรียญที่ใช้กันในสมัยก่อน เหรียญที่ระลึกและพระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 6 โดยเหรียญที่ระลึกจัดทำในวาระครบ 90 ปีของธนาคารออมสิน มีการอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับบนบัลลังก์ มาประดิษฐานด้านหน้าของเหรียญ ความพิเศษของเหรียญชุดนี้อยู่ตรงที่ไม่เคยมีหน่วยงานใดสร้างเหรียญรูปแบบนี้มาก่อน
สภาพพื้นที่ขนาด ตั้งอยู่ในตึกของธนาคารออมสินสาขาใหญ่ชั้น 7
จุดเด่นของสถานที่ อาคารด้านหน้าเป็นอาคารเก่าที่น่าชมแห่งหนึ่งบนถนนเส้นนี้
กิจกรรม/อุปกรณ์ที่ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว
สอนให้เด็กๆ รู้จักการอดออม บริเวณด้านหน้าตรงทางเข้าธนาคารมีสนามหญ้ากว้างขวางสามารถนั่งพักได้
ข้อแนะนำ ลงจากรถไฟฟ้าแล้วควรจะเดินมากกว่านั่งรถเพราะบนถนนพหลโยธินนี้ค่อนข้างรถติด
....................................................................................