วันสำคัญของไทย

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 
       
วันอาสาฬหบูชา
ความหมาย
วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย

ความสำคัญ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นสาวกรูปแรก ที่เป็นประจักษ์พยานในการตัรสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่ประกาศให้มีวันอาสาฬหบูชาและถือปฏิบัติมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ประวัติ
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ และได้ประทับอยู่ ณ บริเวณที่ตรัสรู้นั้นตลอด ๗ สัปดาห์ พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรด อันดับแรกทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสผู้เคยสอนความรู้ขั้นฌานให้แก่พระองค์มา แต่ท่านทั้ง ๒ ก็สิ้นชีพไปก่อนแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ผู้ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าฤาษีทั้ง ๕ นั้นมีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้ จึงเสด็จออกจากต้นมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสีเสด็จไปถึงเย็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน อาสาฬหะ รุ่งขึ้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระองค์ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเองสรุปความได้ว่าบรรพชิต(นักบวช) ไม่ควรประพฤติที่สุดโด่ง ๒ ส่วน คือ 
๑.การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข (กามสุขัลลิกานุโยค) และ ๒.การทรมานตัวเองให้ลำบาก(อัตตกิมลถานุโยค)ควรดำเนินตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือความเห็นชอบ(สัมมาอาชีวะ) เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) และตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) ต่อจากนั้นจึงแสดงอริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของชีวิต ที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ ทุกข์ (ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นต้น) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยากต่างๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์ คือ นิพพาน)และ มรรค(ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกษ์) 
เมื่อจบพระธรรมเทศยา ท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (เห็นตามเป็นจริง) ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้า ครั้นทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันแล้ว จึงทรงเปล่งอุททานว่า "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกนฑัญโญ" แปลว่า"โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ "อันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะได้นามว่า"อัญญาโกณฑัญญะ" มา นับแต่นั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุสัมมปทา จึงเป็นอันว่า มีองค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวั้นนั้น
กิจกรรม
เป็นวันที่ชาวไทยทุกคนส่วนใหญ่ จะทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนและ ช่วยกันทำประโยชน์ให้กับวัด และทำจิตใจให้สงบ ทำแต่ความดีละเว้นความชั่ว
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8

วันเข้าพรรษา 
ความหมาย 
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระถิกษุทุกรูปต้องปฏิบัติตาม หมายถึงการอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริงๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในระหว่างฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้นวันเข้าพรรษาหมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือ เสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมที่อื่นตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

ความสำคัญ
วันเข้าพรรษานี้ มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้
๑.พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆ แต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ
๒.การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป
๓.เป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่างๆ เช่นการดื่มสุรา สิ่งเสพติดและการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น
๔. นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่างๆแล้ว ในช่วงเวลาพรรษาพุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภวนามากขึ้น

ประวัติความเป็นมา
๑.ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือพวกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆไม่หยุดยั้ง แม้แต่ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครณถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อน ไม่ท่องเที่ยวไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกัน ตรัสถามจนได้เป็นความจริงแล้ว จึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า "อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง อุปะคันตุง" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา" วันเข้าพรรษานี้ โดยทั่วไปกำหนดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่าวันเข้าพรรษาแรก(ปุริมพรรษา) ถ้าปีใดเป็นอธิกมาส มีเดือนแปด ๒ หน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษา ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาได้ ก็เลื่อนเข้าพรรษา ในแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เรียกว่าวันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา)

๒.การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย สมัยก่อนประชาชนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอพระสงฆ์เข้าพรรษา ก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมากประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่างๆ ก็ไม่ค่อยสะดวกเนื่องจากฝนตกชุกและ น้ำขึ้นเจิ่งนองเต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไป ชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีลฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น

ดังนั้น เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวานผลไม้และ เครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ในวัดใกล้บ้านตน พระภิกษุก็จะแนะนำสั่งสอนให้เกิดศัทธาในการปฏิบัติตามหลักทาน ศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่นๆตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานีดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่า "พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ 2 ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

๑.ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังในปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมากๆ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติกิจวัตร เช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม กิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่าง ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือน ไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ๆ บ้าน เป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า "เทียนจำนำพรรษา" ก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจะจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริก สนุกสนานเรียกว่า"ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษา"

๒.ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือมหาอุบาสิกาชื่อว่า สิสาขาได้ทูลขอพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ได้มี ผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับพุทธานุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์

ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธสานิกชน ตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่จำพรรษา พร้อมกับอาหารพร้อมเครื่องใช้ที่จำเป็นต่างๆแม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็ยังคงปฏิบัติกิจกรรมอย่างนี้อยู่ บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลาประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้านตน

กิจกรรมวันเข้าพรรษา
เป็นเทศกาลแห่เทียนพรรษาและมีการจัดประกวดเทียนพรรษา ของแต่ละหมู่บ้าน อำเภอบางแห่งจะนำเทียนที่มีอยู่มาเคี่ยวหลอมใหม่ โดยเทลงในพิมพ์ทรงกระบอก ใหญ่ก็จะได้เทียนเล่มใหญ่เพื่อให้พระสงฆ์ใช้จุดในการจำวัดอยู่ในวัด และจะมีพระเข้ามาบวชมากถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแกภิกษุสามเณร ละเว้นการทำชั่ว ทำบุญกุศลต่างๆหรือเข้าฟังธรรมเทศนา

...................................................................................................................................
 ม ก ร า ค ม


วันขึ้นปีใหม่

ความหมาย
ความ หมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า "ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ


ประวัติความเป็นมา
- ในส่วนนานาชาติ
   ในสมัยโบราณนั้น แต่ละชาติต่างก็ไม่มีวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกัน เช่นในประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันในสมัยโบราณจะมีวันขึ้นปีใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเวลาที่กำลังมีอากาศหนาวเย็น และประชาชนที่แยกย้ายออกไปหากินในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงฤดูร้อน ก็ได้เก็บเกี่ยวพืชผลและนำขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว ก็มาร่วมฉลองขึ้นปีใหม่ในระยะนี้ ต่อมาเมื่อชาวโรมันได้เข้ามารุกราน จึงได้เลื่อนการฉลองปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ชาติโบราณ เช่น ไอยคุปค์ เฟนิเชียนและอิหร่าน เริ่มปีใหม่ราววันที่ 21 กันยายน รวมถึงชาวโรมันก็เริ่มปีใหม่วันนี้เช่นเดียวกัน ครั้งมาถึงสมัยของซีซาร์ที่ใช้ปฏิทินแบบยูเลียน จึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม แต่พวกยิวขึ้นปีใหม่เป็นสองอย่างคือ อย่างเป็นทางการเริ่มประมาณวันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่5 ตุลาคม และอย่างทางศาสนาเริ่มวันที่ 21 มีนาคม ส่วนชาวคริสเตียนในยุคกลาง เริ่มปีใหม่ในวันที่ 25 มีนาคม แต่คนอังกฤษเชื้อสายแองโกลซักซอนได้เริ่มปีใหม่วันที่ 25 ธันวาคม ภายหลังเมื่อพระเจ้าวิลเลี่ยม วิชิตราชได้เป็นราชาธิราชแห่งเกาะอังกฤษจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็ฯวัน ที่ 1 มกราคม แต่ต่อมาชาวอังกฤษก็เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 25 มีนาคม เช่นเดียวกับชาว
คริสเตียนอื่น ๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการใช้ปฏิทินแบบกรีกอเรียน ชาวคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิกก็กลับมาขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมกันอีก


- ในส่วนของไทย
    ชาวไทยในสมัยโบราณเริ่มขึ้นปีใหม่เป็นสามระยะ คือ ขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ โดยนับปีนักษัตรเป็นเกณฑ์ เริ่มวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นประเพณีมีตรุษ ระยะ 1 เริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์ จุลศักราชตามปกติประมาณวันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณี สงกรานต์และมีงานนักษัตรฤกษ์ 3 วัน วันต้นเป็นวันสงกรานต์ วันที่ 2 เป็นวันเนาว์ และวันที่ 3 จึงเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ระยะ 1 และขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติ คือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งประกาศใช้มาแต่ พ.ศ. 2432 ในรัชกาลที่ 5 และได้ประกอบพิธีฉลองปีใหม่ในวันนั้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมารัฐบาลในระบอบประชาธิไตยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาเสนอว่า วันขึ้นปีใหม่ของไทยควรจะได้เป็นไปตามสากลนิยม จึงได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484
..................................................................................................


วันเด็กแห่งชาติ
ความหมาย
ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็กอ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และเด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

ความเป็นมา
เด็ก นับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็กจึงควรที่จะเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็ง ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวมดังนี้แล้ว  ก็จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "เด็กดี" ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญมีความผาสุกร่มเย็นต่อไป

ความคิด ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองนั้น นายวีเอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศได้เสนอต่อกรมประชา สงเคราะห์ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญของเด็ก วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทยจึงจัดให้มีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และปฏฺบัติกันเรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ. 2506 ต่อมาเห็นว่า วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เหมาะสมสำหรับการจัดงานวันเด็กมากกว่า เนื่องจากพ้นฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการแต่ในปี พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้จัดกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 งานวันเด็กแห่งชาติจึงจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม มาจนถึงบัดนี้ ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาตินั้น รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ให้เด็กทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง รู้ถึงความมีระเบียบวินัย รู้จักสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันเด็กแห่งชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระบรม ราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี ซึ่งล้วนเป็นการเสนอแนะให้แนวทางที่เด็กสามารถปฎิบัติได้  พลังของเด็กในปัจจุบัน ถ้ามีพื้นฐานมาแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดและทำในสิ่งที่ดีและละเว้นความชั่ว ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติ

กิจกรรม
ข้อ เสนอแนะและตัวอย่างกิจกรรมในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เช่น การจัดประชุม สัมมนา ในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของเด็กที่พึงปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัว หรืออาจจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับเด็ก มอบของขวัญในโอกาสวันสำคัญนี้ให้แก่เด็ก ๆ ที่มีความประพฤติดี และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นต้น
.....................................................................................

วันกองทัพไทย
ความหมาย
   วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หมายถึง วันที่ระลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชา

ความเป็นมา
        จากการที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชา มีชัยชนะในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ นับเป็นสำคัญยิ่ง เพราะหลังจากนั้นมิได้มีข้าศึกกล้าเข้ามาลุกรานเป็นเวลานานถึง ๑๕o ปี และทางกองทัพไทยได้กำหนดเอาวันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันกองทัพไทย
        วันกองทัพไทยเป็นวันสำคัญยิ่งต่อทหารและกองทัพไทย แต่ก่อนจะกล่าวถึงความเป็นมาของวันสำคัญขอได้โปรดติดตามความบางตอนจาก หนังสือพระราชพงศาวดาร ดังต่อไปนี้
       "พระนเรศวรเมื่อทรงหลั่งน้ำลงลงแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร  ประกาศแก่เทวดาต่อหน้าที่ประชุมว่าตั้งแต่วันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรี กับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรกันดังแต่ก่อนอีกต่อไป แล้วก็ยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนใกล้เมืองหงสาวดี ได้ความว่า พระเจ้าหงสาวดีไปรบพุ่งมีชัยชนะเมืองอังวะแล้ว จวนจะยกทัพกลับคืนมาพระนคร ทรงเห็นว่าจะตีเมืองหงสาวดีครั้งนั้นยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ครั้งก่อน ให้อพยพกลับเมืองได้ครอบครัวกลับมาตุภูมิเดิมถึง ๑o,ooo เศษ พระมหาอุปราชาได้ทราบข่าวก็จัดกองทัพสุกรรมาเป็นกองหน้า ส่วนพระมหาอุปราชาเป็นกองหลัง ยกติดตามพระนเรศวรกองหน้ามาทันกันที่แม่น้ำสะโตง เมื่อพระนเรศวรได้ข้ามฟากมาแล้วจึงยิงต่อสู้กันที่ริมน้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืน กระบอกหนึ่งยาว ๙ คืบ ถูกสุกรรมานายทัพหน้าของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกลี้พลเห็น นายทัพตายก็พากันครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไป
        อันว่าพระแสงปืนซึ่งพระองค์ยิงถูกสุกรรมาดับชีบครั้งนั้น ได้มีนามปรากฎว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง"นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภค สำหรับแผ่นดินสืบต่อมาจนตราบเท่าถึงกาลปัจจุบันนี้
        จากข้อความบางตอนในในหนังสือพระราชพงศาวดารที่ยกมา ก็เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช และสถาบันพระมหากษัตริย์ของชาติไทยเราที่ทรงทำนุบำรุงประชาราษฎร์ ทรงเสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน
ก็เพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยตลอดจนชนทุกชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุป ราชานั้น ตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๑๓๕
       และทางกองทัพไทยได้กำหนดเอาวันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันกองทัพไทย
       กิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     -  จัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และความสำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     -  จัดนิทรรศการพระราชประวัติและผลงาน
       กิจกรรมอื่นๆ ที่พึงปฏิบัติ
     -  ทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล
     -  ประดับธงชาติสถานที่ราชการ และอาคารบ้านเรือน
     -  วางพวงมาลา
     -  การแสดงเทิดพระเกียรติ
....................................................................................................


วันครู
ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้สั่งสอน ผู้ถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์

ประวัติความเป็นมา
วัน ครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488
ซึ่ง ระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา  และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ธิการควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์และส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวครู  ได้รับความช่วยเหลือตามสมควรส่งเสริมความรู้และสามัคคีของครู

ใน ทุกๆปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์หอประชุมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ.2499  ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมาศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ คนที่สองรองลงไปคือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลงปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนว ความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออก ทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้ และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไปโดยได้เสนอหลัก การว่าเพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

ในที่สุดคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

กิจกรรม
เพื่อ ให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทและหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูตลอดจนการจัดกิจกรรมได้เหมาะ สมและมีประสิทธิภาพมีการจัดกิจกรรมพิเศษขึ้นในโรงเรียน มอบของขัวญในโอกาสวันสำคญนี้แก่ครู ร่วมกิจกรรมทางศาสนาใส่บาตรพระสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลแก่ครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้วส่งบัตรอวยพรไปยังครูบา อาจารย์ที่ให้ความรู้และอบรมสั่งสอน จัดพิธีบูชาบูรพาจารย์
...........................................................................................