มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๑
ประวัติ : พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เป็นบุตรของนายฮวด หุตะสิงห์ และนางแพ้ว หุตะสิงห์ สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบและอัสสัมชัญ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม จากนั้นได้ไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ และได้รับปริญญาบัตรเนติบัณฑิตอังกฤษของสำนักกฎหมายเกรซ์อินน์พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้รับเชื้อเชิญจากคณะปฏิวัติ 2475 ให้ดำรงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" คนแรกของระเทศไทย ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งตำแหน่งนี้เดิมเรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ภายใต้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีคณะกรรมการราษฎร หรือคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นเข้าร่วมคณะทั้งหมด 14 นาย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ออกเดินทางไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่ถนนลันเจอร์มัว ปีนัง กับครอบครัวเป็นเวลา 16 ปีเต็ม และได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปี
.........................................................................................................................................................................................................................
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒
ประวัติ : พระยาพหลพลพยุหเสนา เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2430 ณ วัดราช
บูรณะ (วัดเลียบ) ฝั่งพระนครเป็นบุตรของพระยาพหลพลพยุหเสนา (กิม
พหลโยธิน) และคุณหญิงจีบ พหลโยธิน ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัด
จักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2444 อายุได้ 11 ปี หลังจากนั้นสอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่
ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 และได้เป็นนักเรียนนาย
ร้อยโรงเรียนรบ ณ เมืองเบกซ์ ประเทศเยอรมันนีเป็นเวลา 8 ปี ต่อมาได้รับยศเป็น
ร้อยตรี เมื่อ พ.ศ. 2457 และได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา
เมื่อ พ.ศ. 2474
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของ
ประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนพ.ศ. 2476 เป็นบุคคลสำคัญของประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "นายก
คนซื่อ" และเป็นบุคคลสำคัญที่หาญเข้ายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมา
เป็นระบอบประชาธิปไตย จนตราบเท่าทุกวันนี้
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคอัมพาต เนื่องมาจากเส้นโลหิตในสมองแตก
ด้วยอาการอันสงบ ที่วังปารุสกวัน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 รวมอายุได้ 60 ปี
.......................................................................................................................................................................................................................
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี คนที่ ๓
ประวัติ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม เจ้าของสมญา "นายกตลอดกาล" เกิดเมื่อวันที่
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ที่ตำบลบ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี เป็นบุตรของนายขีด และนางสำอางค์ ขีตตะสังคะ ได้รับการ ศึกษาชั้นต้นที่
โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 ได้เข้าเรียนที่
โรงเรียนนายร้อยทหารบก อายุได้ 12 ปี และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรี เมื่อ
พ.ศ. 2457 จากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนาย
ทหารเสนาธิการ แล้วจึงได้รับคัดเลือกส่งไปศึกษาต่อที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2474
จอมพล ป. พิบูลสงครามได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศไทย เมื่อ
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481และอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานที่สุดถึง 15 ปี
ซึ่งนานกว่าบรรดานายกรัฐมนตรีของไทยที่ผ่านมาก และเป็นผู้ที่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศชาติไปในทางที่ดี
หลายอย่าง จนเป็นอนุสรณ์สืบต่อมาทุกวันนี้ก็ว่าได้
จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ที่บ้านพักใกล้กรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่นรวมอายุได้ 67 ปี และนับเป็นบุคคลสำคัญชั้นผู้นำของประเทศที่ต้องหนีออกไปจบชีวิตของตนเอง
ยังต่างประเทศอีกผู้หนึ่ง เช่นเดียวกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา แต่ถึงอย่างไร ท่านก็ได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่ครองตำแหน่งได้ยาวนานที่สุด
.......................................................................................................................................................................................................................
นายควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิทย์อภัยวงศ์) นายกรัฐมนตรี คนที่ ๔
ประวัติ : นายควง อภัยวงศ์ หรือหลวงโกวิทย์อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม
พ.ศ. 2445 ที่เมืองพระตะบอง เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่ง
เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลพระตะบองในสมัยนั้น และคุณหญิงรอด อภัยวงศ์ นายควง
อภัยวงศ์ ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ได้ 3 ปี และได้ไป
ศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2461 ได้ไปศึกษาต่อวิชาวิศวกรรม
โยธาที่เอโกล ซังตรัล เดอ ลียอง ที่ประเทศฝรั่งเศส และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.
2470
นายควง อภัยวงศ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ เมื่อ พ.ศ.
2474 และเป็นผู้ก่อตั้งพรรค "ประชาธิปัตย์" ขึ้น ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สี่
ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2477 และได้ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 ที่บ้าน
หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ หลังจากที่ป่วงกระเสาะกระแสะด้วยโรคมะเร็งในปอดคุกคาม และต้องไป รักษาตัวอยู่ที่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ประมาณเดือนเศษ แต่อาการไม่ดีขึ้น รวมอายุท่านได้ 65 ปี กับ 10 เดือน .......................................................................................................................................................................................................................
นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๕
ประวัติ : นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 เป็นบุตรของ
พระยารณชัยชาญยุทร(ถนอม บุญยเกตุ) และคุณหญิงทับทิบ บุญยเกตุ ได้รับการ
ศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2458 จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปี
ที่ 7 แล้วไปศึกษาต่อวิชากสิกรรมภาคตะวันตก ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ที่ประเทศ
ฝรั่งเศส โดยทุนรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2464 เป็นเวลา 3 ปี จึงสำเร็จหลักสูตร ภายหลัง
ที่จบปริญญาจากมหาวิทยาลัยนี้แล้ว ก็กลับมารับราชการอยู่ในกรมเกษตรและการ
ประมง กระทรวงการเกษตร
นายทวี บุญยเกตุ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ห้า ของประเทศไทยเมื่อวันที่
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งได้เข้าไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีโดยช่วงระยะเวลาเพียง
17 วัน และลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เข้ามารับหน้าที่บริหารต่อ ในภายหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2 สงบลงใหม่ ๆ
นายทวี บุญยเกตุ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 .......................................................................................................................................................................................................................
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ ๖
ประวัติ : ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศภาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้านพัก
ในกรมทหาร จังหวัดนครสวรรค์เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมแดง ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนราชินีล่าง อัสสัมชัญ และจบมัธยมศึกษา
ตอนปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบ จากนั้นได้ศึกษาต่อวิชากฎหมาย และได้รับปริญญา
B.A. Hons. จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและเนติบัณฑิตเกียรตินิยมชั้นที่ 1 จาก
สำนักกฎหมาย เกรย์อินน์ ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่หก ของประเทศไทยเมื่อวัน
ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยต้อง
ประกาศสงครามกับพันธมิตร ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ก็ได้ประกาศตั้งกลุ่ม "เสรี
ไทย" ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่รับราชการเป็นอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน อันเป็นส่วน
สำคัญที่สามารถช่วยให้ไทยหลุดรอดพ้นจากความเป็นผู้แพ้สงครามในยุคนั้น
.......................................................................................................................................................................................................................
นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรีคนที่ ๗
ประวัติ : นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ที่บ้านริม
คลองเมืองฝั่งเหนือ ท่าวาสุกรี ตรงข้ามกับวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระ
นครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเสียง พนมยงค์ และนางลูกจันท์ พนมยงค์ ได้รับการ
ศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนมัธยมวัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วมา
ศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนกฏหมายของกระทรวง
ยุติธรรม ต่อมาได้ไปศึกษาวิชากฏหมายต่อที่ประเทศฝรั่งเศส โดยทุนเล่าเรียนหลวง
เมื่อปี พ.ศ.2463 และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญา ดร.อังดรัว (Docteur
endroit) จากประเทศฝรั่งเศส และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงสุด ในวิชา
เศรษฐศาสตร์อีกแขนงหนึ่งด้วย
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่เจ็ด ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
.......................................................................................................................................................................................................................
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)นายกรัฐมนตรีคนที่ ๘
ประวัติ : พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2445 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นามเดิมชื่อถวัลย์ ธารีสวัสดิ์ จบการศึกษาระดับปริญญากฎหมาย เนติบัณฑิต (รุ่นก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ได้รับรรดาศักดิ์เป็น "หลวงโรงนาวาสวัสดิ์" แต่ได้กราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ และกลับมาใช้ชื่อเดิมว่า ถวัลย์ และใช้นามสกุลตามบรรดาศักดิ์ว่า ธำรงนาวาสวัสดิ์ และเป็นบุคคลหนึ่งในคณะปฏิวัติปี พ.ศ. 2475 รุ่นเดียวกับพระยาพหลพลพยุหเสนา และเคยเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุดพระยาพหลพลพยุหเสนามาแล้ว
พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่แปด ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และก่อนที่จะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายปรีดี พนมยงค์ ท่านเคยได้รับสมญาว่า"นักการเมืองลิ้นทอง" มาก่อน เนื่องจาก เป็นบุคคลที่มีวาทศิลป์อันคมคาย เป็นคุณสมบัติประจำตัว จนแม้กระทั่งได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านก็ยังได้รับสมญาว่า "นายกสาริกาลิ้นทอง" อยู่ดี
.......................................................................................................................................................................................................................
นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๙
ประวัติ : นายพจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2449 ที่บ้าน ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก พระนคร เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้) และคุณหญิงสุ่น สารสิน ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่กรุงเทพฯ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลับมาศึกษาต่อวิชากฏหมายในโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อ พ.ศ. 2472 จึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่สภานิติศึกษาในประเทศอังกฤษ และได้เนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2474
นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พงศ. 2500 แต่ได้ลาออกมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่เก้า ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2500 นายพจน์ สารสิน ไม่เคยมียศทางการทหารหรือตำรวจหรือบรรดาศักดิ์มาก่อน แต่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการเมืองที่"มือขาวสะอาด" และยอมเสียสละตำแหน่งเลขาธิการองค์การ ส.ป.อ. มารับตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" เพื่อแก้ไขสถานการณ์ตึง
เครียดทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ .......................................................................................................................................................................................................................
จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑o
ประวัติ : จอมพลถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ที่ตำบลบ้านหนองหลวง อำเภอเมืองจังหวัดตาก เป็นบุตรคนที่สามของขุนโสภิตบรรณรักษ์ (อำพัน กิตติขจร) และนางลิ้นจี่ กิตติขจร ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้นเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบก และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรีเมื่อปี พ.ศ. 2472 ได้รับพระราชทานยศเป็น "จอมพล" เมื่อ พ.ศ. 2506
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สิบ ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในคราว "วันมหาวิปโยค" .......................................................................................................................................................................................................................
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๑
ประวัติ : จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านปากคลองตลาด ตำบลพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรือเดชอนันต์ (ทองดี) และคุณแม่จันทิพย์ ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานยศเป็นจอมพลทหารบก, ทหารอากาศและทหารเรือ เมื่อปี พ.ศ.2499-2502 ตามลำดับ ยศครั้งสุดท้ายที่ได้รับคื อพลตำรวจเอก
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สิบเอ็ด ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2502 และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เสียชีวิตลงในระหว่างดำรงตำแหน่งหน้าที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ฯ .......................................................................................................................................................................................................................
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๒
ประวัติ : ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2540 ที่บ้านริมวัดอรุณราชวรารามฝั่งธนบุรี เป็นบุตรพระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี) และคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จนจบมัธยมปลาย จากนั้นได้เข้าเรียนกฎหมายในโรงเรียนกฏหมาย กระทรวงยุตรธรรม สอบได้เนติบัณฑิตไทย แล้วสอบชิงทุนระพีมูลนิธิไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ และได้รับปริญญาเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2476 จนเมื่ออายุครบเกษียณ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "นายกรัฐมนตรี" ในช่วงระยะวันมหาวิปโยค จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สิบสอง ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 รวมเวลาได้ 1 ปี กับ 103 วัน
.......................................................................................................................................................................................................................
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๓
ประวัติ : ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 เป็นบุตรคนที่สี่ของพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมแดง ปราโมช ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวังหลัง ชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Trent College ประเทศอังกฤษ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และได้รับปริญญา B.A. Hons. ทาง Philosophy, Economics and Politics ได้เข้ารับราชการครั้งแรกในแผนกสรรพากร ต่อมาได้ไปทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังเคย
เป็นทหารออกศึกในสงครามอินโดจีนได้รับยศ "สิบตรี" กองทัพบก
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มต้นอาชีพทางการเมือง โดยการเป็นหัวหน้าทีมการเมือง พรรคกิจสังคม หรือ "แสป"เจ้าของสโลแกนว่า "เราทำได้" อันมีสัญญลักษณ์ของกำปั้นมือขวาต่อยลงไปในฝ่ามือซ้ายพร้อม ๆ กับเน้นหนักของคำว่า "เราทำได้" นี้ จริง ๆ แล้ว ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เคยสมัครเข้ารับเลือกตั้ง เคยได้ก้าวเข้ามาสู่ตำแหน่งทางการเมืองในอดีตมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เป็นผู้เริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกขึ้น ชื่อ "พรรคก้าวหน้า" ซึ่งถือว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของเมืองไทย
.......................................................................................................................................................................................................................
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔
ประวัติ : นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็นบุตรของนายแห กรัยวิเชียร และ นางผะอบ กรัยวิเชียร ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบจนจบมัธมยศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2484 และจบปริญญากฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2491 จากนั้นได้รับปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยลอนดอน พ.ศ. 2496 และ สำนักกฎหมายเกรย์อินน์ อังกฤษ พ.ศ. 2497
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สิบสี่ ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
.......................................................................................................................................................................................................................
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๕
ประวัติ : เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เป็นบุตรของนายแจ่ม ชมะนันท์ และนางเจือ ชมะนันท์ ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนมัธยมปทุมคงคา ต่อมาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระจุลจอมเกล้าเมื่อปี พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากเหล่าทหารราบเมื่อปี พ.ศ.2490 จากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 28 ปี พ.ศ. 2492 จากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐ ปี 2497 โรงเรียนเสนาธิการทหารปี 2504 และจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2507
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองพันทหารราบผลัดที่ 3 ในสมัยสงครามเกาหลีและเป็นหัวหน้าคณะกรรมการวางแผนขององค์การ ส.ป.อ. และครั้งหลังสุด คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเลขาธิการคณะปฎิวัติฯ
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่สิบห้า ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ. 2520 และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เป็นการเปิดทางให้คณะรัฐบาลและผู้นำคนใหม่เข้ามารับหน้าที่บริหารต่อ ตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า "ผมพร้อมจะรับผิดชอบทุกประการ หากไม่สามารถทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองได้"
.......................................................................................................................................................................................................................
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๖
ประวัติ : พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (ปีวอก) เป็นบุตรของรองอำมาตย์เอก หลวงพินิจ ทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางออด มัฎฐกุล (สกุล ณ นคร) ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมไปจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และมาศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย (7-8) ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อหลักสูตรระยะสั้น ที่โรงเรียนยานเกราะ ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับพระราชทานยศครั้งแรกเป็นว่าที่ร้อยตรี และดำรงตำแหน่งครูสอนอยู่ที่โรงเรียนยานเกราะ ม. พัน 4 บางกระบือ และได้เลื่อนยศเป็นร้อยโท ร้อยเอกตามลำดับ จนถึงขั้นพันตรีในปี พ.ศ. 2508 และได้รับยศทหารสูงสุดขั้นพลเอก ในสมัยรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรคนที่สิบหก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2523
.......................................................................................................................................................................................................................
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17
ประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2463 ที่ตำบลพลับพลาไชย จังหวัด พระนคร เป็นบุตรของจอมพล ผิน ชุณหะวัณกับคุณหญิง วิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
การศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายร้อยทหารม้า
โรงเรียนยานเกราะกองทัพบก(อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2483 ผู้บังคับหมวด กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2492 ตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2501 ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส
พ.ศ. 2503 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสาธารณรัฐอาร์เจนตินา
พ.ศ. 2506 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำออสเตรีย และตุรกี
พ.ศ. 2510 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสมาพันธ์สวิส
พ.ศ. 2512 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำสมาพันธ์สาธารณรัฐโซเซียลลิสต์ยูโกสลาเวีย
พ.ศ. 2513 เอกอัครราชทูตวิสามัญ ประจำรัฐวาติกัน
พ.ศ.2515 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการเมืองกระทรวงต่างประเทศ บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2515 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา รวม 5 สมัย
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2529 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2531 หัวหน้าพรรคชาติไทย
พ.ศ. 2531 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2534 ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติภายใต้การนำของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิลและพลเอก อิสระพงษ์ หนุนภักดี
ผลงานที่สำคัญ
- การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีนโดยการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า
- ดำเนินการประสานงานให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ
- อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หลายโครงการได้แก่ โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โครงการทางด่วนยกระดับ และโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนในกรุงเทพมหานคร
.......................................................................................................................................................................................................................
นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีคนที่ 18
ประวัติ นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดวันที่ 9 สิงหาคม 2475 สมรสกับ ม.ร.ว. สดศรี(จักรพันธุ์)
การศึกษา รุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนดัลลิชคอลเลจ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปริญญาตรี (เกียรตินิยม)สาขากฎหมายในปี 2498 โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2498 เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2502-2507 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2503 ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค
พ.ศ. 2510-2515 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา
พ.ศ. 2515-2518 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา และผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค
พ.ศ. 2519 รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศและตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2520-2521 และตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
พ.ศ. 2522 เข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด
พ.ศ. 2523 รับตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย
พ.ศ. 2525-2526 เป็นประธาน ASEAN TASK FORCE
พ.ศ. 2525-2527 ดำรงตำแหน่งสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน
พ.ศ. 2530-2533 รับเลือกตั้งเป็นรองประธานสภาฯ
พ.ศ. 2533 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ THE WORLD MANAGEMENT COUNCIL (CLOS)
พ.ศ. 2534 รับเป็นกรรมการ THE BUSINESS COUNCIL FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT (BCSD)
พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535
บทบาททางการเมือง
2 มีนาคม 2534 ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18
10 มิถุนายน 2535 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง
ผลงานที่สำคัญ
- การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
- การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบข้าราชการ
- การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
- การส่งเสริมตลาดทุน
- การส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีในอุตสาหกรรม นโยบายการค้าเสรี ภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม
- การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า
- การปรับปรุงการสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุน การเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ประจำปี 2534
- การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น
- การพัฒนาชนบท การเกษตร และการปฏิรูปที่ดิน
- การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม
- การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2
- การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว
- การดำเนินงานการขยายโอกาสทางการศึกษา
- การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- การแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
- การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยริเริ่มจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม .......................................................................................................................................................................................................................
พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19
ประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476 ต.บ้านช่างหล่อ อ.บางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายจวงกับนางสมพงษ์ คราประยูร สมรสกับ คุณหญิงวรรณี คราประยูร(หนุนภักดี)
การศึกษา
โรงเรียนวัดราชบพิธ
โรงเรียนอำนวยศิลป์
เตรียมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 จากฟอร์ท ลีเวนเวิร์ธ สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2505 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พ.ศ. 2524 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2525 เจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2529 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2532 รองผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2533 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
บทบาททางการเมือง
2 กรกฎาคม 2524 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24 เมษายน 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
7 เมษายน 2535 ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนที่ 19
24 พฤษภาคม 2535 ลาออกจากตำแหน่ง
.......................................................................................................................................................................................................................
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20
ประวัติ เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประวัติการทำงาน
ทนายความ
บทบาททางการเมือง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2525-2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2526-2529 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2529-2531 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2531-2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2533 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2535-2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้นำฝ่ายค้าน
9 พฤศจิกายน 2540 - ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2523 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2524 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2525 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2541 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ
พ.ศ. 2536 Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2542 Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2542 Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส
พ.ศ. 2543 Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว
พ.ศ. 2543 Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย
.......................................................................................................................................................................................................................
นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21
ประวัติ เกิดวันที่ 19 สิงหาคม 2475 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา
การศึกษา
ปริญญาโททางด้านกฏหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2518 วุฒิสมาชิก
พ.ศ.2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ.2523 เลขาธิการพรรคชาติไทย
พ.ศ.2523-2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ.2529 -2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2531 - 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2533 - 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พ.ศ.2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2536 - 2538 หัวหน้าพรรคชาติไทย
พ.ศ.2538 นายกรัฐมนตรี
ผลงานที่สำคัญ:
-เป็นผู้สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองโดยผลักดันการจัดตั้งสภาร่างรัฐะรรมนูญ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
.......................................................................................................................................................................................................................
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีคนที่ 22
ประวัติ
เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม 2475 ที่ จ.นนทบุรี เป็นบุตรของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ
และนางสุรีย์ศรี (ละมุน) สมรสกับ คุณหญิงพันธุ์เครือ (ลิมปภมร) มีบุตร 3 คน
การศึกษา
พ.ศ. 2496 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2505 หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนทหารสื่อสาร
พ.ศ. 2506 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2507 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ฟอร์ท ลีเวนเวินร์ธ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มชั้น Novice ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ (รุ่นที่ 2)
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2494 ปฏิบัติราชการพิเศษ กรณีปราบจลาจลปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่าย
คอมมิวนิสต์
พ.ศ. 2503 ผู้บังคับกอง กองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขต
พ.ศ. 2510 ปฏิบัติราชการสงครามเวียดนาม
พ.ศ. 2510 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารอาสาสมัคร
พ.ศ. 2511 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2512-2515 ปฏิบัติราชการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
พ.ศ. 2522 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก เปรม ติณสูลานนท์) และประจำกองบัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2524 เจ้ากรม กรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2524 หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติ
พ.ศ. 2524 ประธานกรรมการ คณะกรรมการศึกษาเรื่องพลังงานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2525 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
พ.ศ. 2526 รองเสนาธิการทหารบก, ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการ กองทัพบกหัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษ กรมมหาดเล็กที่ 31
นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 1
พ.ศ. 2526 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2526-2533 สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2528 เสนาธิการทหารบก (พลเอก)
พ.ศ. 2529 นายทหารพิเศษ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 11 รักษา
พระอง ค์นายทหารพิเศษ กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2529 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2530 รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2530 ตุลาการทหารสูงสุด, นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน นายทหารพิเศษ กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
นายทหารพิเศษ กองบัญชาการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
พ.ศ. 2531 นาวิกโยธิน กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองพันอากาศโยธิน, รักษาพระองค์ กรมอากาศโยธิน
บทบาททางการเมือง
30 มี.ค 2533 -21 มิ.ย 2533 รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย)
25 ต.ค. 2535 - ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
2535/1-2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นนทบุรี เขต 1 พรรคความหวังใหม่
15 พ.ค. 2535 - 12 ก.ย.2535 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
29 ก.ย. 2535 - 11 ธ.ค. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัยรัฐบาล ชวน 1-2)
23 ก.ย.2536 - 7 ม.ค.2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม
14 ก.ค. 2537 - 25 ต.ค. 2537 รองนายกรัฐมนตรี
ผู้รับกระแสพระราชดำรัสให้ดำเนินการโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว โครงการพัฒนาดอยตุง โครงการฮารับปันมารู ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
18 ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาลนายบรรหาร)
2538 - ปัจจุบัน ประธานการกีฬาแห่งประเทศไทย
17 พ.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
25 พ.ย. 2539 นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย
29 พ.ย. 2539 - พ.ย. 2540 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปัจจุบัน ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน
.......................................................................................................................................................................................................................
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.
2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ใน
จำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย
มหิดลกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ
ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชา
จิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ
นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรม
เยาวชนในขณะที่อภิสิทธิ์ยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะ
ได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาล
ที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับ
ประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่
โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดม
ศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับ
ปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคน
ที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา
หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) จังหวัดนครนายก ระหว่าง พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศว่าที่ร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของนายอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[17] หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วยต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[18] จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และ นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ
......................................................................................................................................................... | |